เราควรกินโปรตีนวันละกี่กรัม? รู้ได้ยังไง?
ฮั่นแน่!! มีใครสงสัยเหมือนกันบ้าง หรือมีใครกำลังหาข้อมูลอยู่เกี่ยวกับการกินโปรตีนในแต่ละวันบ้าง เอ๊ะ! เราควรกินเท่าไหร่ดี ปริมาณเท่าไหร่ในแต่ละวัน วันนี้มีคำตอบให้จ้า มีทั้งจากการสำรวจ Survey กับกลุ่มที่บริโภคโปรตีนเป็นประจำกับสำรวจจาก research งานวิจัยต่างๆ ใครที่กำลังสงสัยหรือต้องการหาคำตอบอยู่ ปักหมุดเลยน้า!!
เอาละพูดถึงโปรตีนในแต่ละวันก่อนอื่นเลย เริ่มแรกเราต้องเข้าใจกับเป้าหมายเราก่อนว่าในแต่ละวันเรากินโปรตีนเพื่อวัตถุประสงค์ไหน “ยังไงนะ เริ่มงง?” ก็อย่างเช่นการรับประทานโปรตีนเพื่อการสร้างกล้ามเนื้อ, การรับประทานโปรตีนเพื่อคงมวลกล้ามเนื้อยังไงละ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีการบริโภคอัตราส่วนโปรตีนในแต่ละวันแตกต่างกันอย่างชัดเจน
วันนี้แอดฯ ขอเล่าถึงการกินโปรตีนในการคงมวลกล้ามเนื้อแล้วกัน
เริ่มจากการศึกษางานวิจัยก่อนเลยมีหลาย research ให้ข้อมูลในอัตราส่วนที่ไม่เหมือนกัน อ้างอิงจาก Dietary Protein and Muscle Mass: Translating Science to Application and Health Benefit ของ John W. Carbone กล่าวในบทนำว่า ปี 2005 Estimated Average Requirement (EAR) อยู่ที่ 0.6g ซึงนั้นเป็นข้อมูลเมื่อหลายปีก่อน อาจจะปัจจัยส่งผลกระทบถึงคนสมัยนี้ได้ จึงมีการสำรวจให้ใหม่และให้ข้อมูลที่ควรบริโภคเป็น “1.6 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลฯ.” ซึ่งพิสูจน์ได้แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษามวลกล้ามเนื้อ และสำหรับผู้ที่มีการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อ ปริมาณโปรตีนที่แนะนำอยู่ที่ 2.0 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลฯ
จะเห็นได้ว่าจำนวนโปรตีนที่เราต้องการบริโภคในแต่ละวันมีจำนวนที่ไม่เท่ากันตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ว่าจะเป็นการสร้างกล้ามเนื้อหรือคงมวลกล้ามเนื้อ การบริโภคโปรตีนในแต่ละวันให้ถึงตามปริมาณที่กำหนดนั้น ถือเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อนๆ ละ! รับประทานโปรตีนกันวันละกี่กรัมกันบ้าง
ส่วนใครกำลังมองหาโปรตีนพืชที่มีโปรตีนสูง ไม่มีน้ำตาล กินแล้วท้องไม่อืด ไม่มี cholesterol สำหรับนำไปรับประทานคงมวลกล้ามเนื้อหรือเพิ่มกล้ามเนื้อ แนะนำโปรตีนจากพีลิเซียสเลยนะ ดื่มง่าย รสชาติเต็ม10
ปรึกษา Nutritionist team ได้ที่ Line : @pealicious หรือ Click ปรึกษานักโภชนาการ
อ้างอิง
Carbone JW, Pasiakos SM. Dietary Protein and Muscle Mass: Translating Science to Application and Health Benefit. Nutrients. 2019 May 22;11(5):1136. doi: 10.3390/nu11051136. PMID: 31121843; PMCID: PMC6566799.
Comments